รายได้เท่าไรต้องเสียภาษี? จะตอบคำถามนี้ต้องรู้อะไรบ้าง?

รายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษี

พี่ครับ รายได้เท่าไรต้องเสียภาษีครับ
ผมจะได้ทำให้รายได้ต่ำที่สุด

น้องนิสัยน่ารักท่านหนึ่งถามคำถามนี้

เมื่อพูดถึงคำว่า “รายได้เท่าไรต้องเสียภาษี” เรามักจะนึกถึงคำตอบง่าย ๆ อย่างเช่น เงินเดือนไม่เกิน 310,000 บาทต่อปี ไปจนถึงกับความสัมพันธ์กับการ ยื่นภาษี ในจำนวนเงินขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด แต่บทความนี้จะชวนทุกคนมาคิดกันต่อครับว่า ถ้าเราจะตอบคำถามนี้ได้อย่างถูกต้อง เราควรตอบแบบไหนยังไงดี ?

Advertisements

เพราะเราต้องรู้ก่อนว่าคำถามนี้
หมายถึง รายได้อะไร และ ภาษีประเภทไหน

อันดับแรก เริ่มต้นกันที่คำนิยามของคำว่า รายได้ กันก่อน ซึ่งรายได้ที่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีนั้น คือ รายได้ที่กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิยกเว้นภาษีไว้ และต้องรู้ต่อด้วยว่า รายได้ที่ว่านี้เป็นเงินได้ประเภทไหนใน เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท ที่กฎหมายกำหนดไว้

หลังจากรู้คำตอบของรายได้แล้ว คำถามนี้เราต้องเจาะจงต่อด้วยว่า หมายถึง ภาษีประเภทไหน เพราะถ้าเราไม่ได้พูดถึงภาษีเงินได้ แต่กลับไปพูดถึง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือ ภาษีมรดก เราก็จะเห็นว่าภาษีประเภทนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับรายได้ที่มี เพราะคิดกันคนละฐานภาษี จนอาจกลายเป็นการเปลี่ยนคำตอบใหม่ว่า ไม่เกี่ยวกับรายได้ ยังไงเราก็ต้องเสียภาษีอยู่แล้วถ้าเข้าเงื่อนไขของภาษีประเภทนั้น ๆ ต่างหาก

Advertisements

ดังนั้น นี่คือสิ่งที่เราต้องกลั่นกรองจากคำถามที่ถามว่า “รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี” เพื่อให้เข้าใจว่า เรากำลังพูดถึง ภาษีเงินได้ และพูดคุยเจาะจงไปถึง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่คนธรรมดาอย่างเรามีหน้าที่ยื่นและเสียภาษีให้ถูกต้อง

เงินได้เท่าไรที่ไม่ต้องเสียภาษี

เมื่อทำความเข้าใจในคำถามมาจนได้คำตอบว่า เรากำลังคุยกันในเรื่องของภาษีเงินได้แล้ว มันก็มาถึงจุดที่ต้องคิดต่อในเรื่องของ วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นั้นมีวิธีคำนวณ 2 วิธีคือ คำนวณจาก เงินได้สุทธิ และ เงินได้พึงประเมิน ซึ่งเรามักจะใช้วิธีเงินได้สุทธิในการคำนวณว่าจำนวนเงินได้สุทธิเท่าไรที่ไม่ต้องเสียภาษีซึ่งคำตอบคือ 150,000 บาท จากตารางคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้านล่างนี้ครับ

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
Advertisements

เมื่อย้อนสูตรการคำนวณ เงินได้สุทธิ ที่มาจาก เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน เราจะพอเห็นภาพต่อแล้วว่า สิ่งที่เราต้องรู้มากกว่านั้นคือ เรามีเงินได้ประเภทไหน หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร และมีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง

Advertisements

โดยคำถามในประเด็นนี้ มักจะเริ่มต้นจากการไม่มีรายการอะไรเลยสักอย่าง (หรือไม่ได้วางแผนลดหย่อนภาษี) ซึ่งส่งผลให้ค่าลดหย่อนที่มี คือ ค่าลดหย่อนส่วนตัวจำนวน 60,000 บาทเท่านั้น

ทำให้ส่วนที่ต้องมาตั้งคำถามต่อก็คือ เงินได้ของเราเป็นเงินได้ประเภทไหนตามกฎหมาย และ หักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบไหนได้บ้าง? ซึ่งโดยทั่วไป (อีกแล้ว) คำถามนี้มักจะเลือกยกตัวอย่าง มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินได้ประเภทที่ 1 เพียงอย่างเดียว ซึ่งเงินได้ประเภทนี้สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้สูงสุด 100,000 บาท

จากทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเดือนอย่างเดียว ไม่มีลดหย่อนอะไร จะได้สิทธิในหักค่าใช้จ่าย 100,000 บาท ส่วนค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาทเท่านั้นเอง

รายได้เท่าไรต้องเสียภาษี

เมื่อเอาเราตัวเลขทั้งหมดมาแทนค่าในสมการเงินได้สุทธิ ก็จะเห็นว่า เงินได้สุทธิที่ยกเว้นภาษี 150,000 + ค่าใช้จ่าย 100,000 + ค่าลดหย่อน 60,000 บาท = รายได้ (เงินได้) 310,000 บาท ต่อปี หรือคิดหารเฉลี่ยออกมาเป็นเงินเดือนเดือนละ 25,833.33 บาทนั่นเอง (ไม่รวมโบนัสและค่าตอบแทนอื่นๆ)

Advertisements

แต่ความเป็นจริงแล้ว มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะมีประกันสังคมอีกปีละ 9,000 บาท (ถ้าปีนั้นไม่มีการลดอัตรานำส่งประกันสังคม) ตัวเลข 310,000 บาทก็ต้องบวกค่าลดหย่อนไปอีก 9,000 บาท ดังนั้นจะกลายเป็น 319,000 บาท หรือคิดเป็น เงินเดือนเดือนละ 26,583.33 บาท

หรือ ถ้าหากมนุษย์เงินเดือนคนไหนมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วย เช่น บริษัทหัก 5% ของเงินเดือนไว้ทุกเดือน (ส่วนนี้สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้) เราต้องบวกจำนวนเงินที่สะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในแต่ละปีเข้าไป แล้วกลับมาคิดเป็นเงินเดือนต่อเดือนอีกทีว่าเท่าไรกันแน่ถึงจะได้รับสิทธิที่ไม่ต้องเสียภาษี

รายได้เท่าไรต้องเสียภาษี
คำตอบของคำถามนี้ คืออะไรกันแน่

จากตรงนี้เราจะเห็นข้อสรุปว่า คำว่ารายได้เท่าไรต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น เราต้องตอบให้ได้ก่อนว่า

  1. เรามีเงินได้ประเภทไหนบ้าง? ในกรณีที่บางคนไม่ใช่มนุษย์เงินเดือนก็จะไม่สามารถตอบด้วยสูตรการคำนวณแบบนี้ได้ หรือบางคนไม่ได้มีเงินได้ประเภทเดียว ก็ต้องมาดูการคำนวณภาษีที่ละเอียดขึ้นมาอีกว่าต้องมีเงินได้เท่าไรถึงจะได้เงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท
  2. เรามีค่าลดหย่อนอะไรบ้างในปีนั้น ๆ เพราะการมีค่าลดหย่อนยิ่งมาก จะช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลง และถ้าค่าลดหย่อนมันมีจำนวนมากพอที่จะทำให้เงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท นั่นย่อมแปลว่าเราจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ดี แม้ว่าเราจะมีรายได้มากกว่าคนอื่นที่ฐานเงินเดือนเดียวกัน

เมื่อมาถึงตรงนี้ ผมเชื่อว่าคงมีบางคนตั้งข้อสังเกตว่า เอาจริง ๆ แล้วเราจะรู้ไปทำไมว่ารายได้ที่เรามีเท่าไรถึงไม่ต้องเสียภาษี เพราะสิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยตัวเองได้อย่างถูกต้อง และรู้วิธีวางแผนจัดการเพื่อลดหย่อนภาษีให้เราได้ประโยชน์สูงสุดต่างหาก เพราะถ้าหากเราทำแบบนั้นได้ เราจะได้จัดการการเงินและภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดครับ

เพราะคงไม่มีใครคิดจะไม่เสียภาษี
โดยทำให้ตัวเองมีรายได้น้อยที่สุด

TAXBugnoms

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Allow